ฉลากสินค้า ปัญหาอันดับ 1 ในการเรียกคืนสินค้า หรือ Recall

การเรียกคืนสินค้า ความรับผิดชอบของผู้ผลิต ในการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่พบปัญหาออกจากตลาด เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค ในประเทศไทย เราอาจไม่ได้ยินบ่อยนัก แต่ในต่างประเทศจากสถิติการเรียกคืนสินค้าพบว่าปัญหาที่ทำให้เกิดการ recall สูงสุดคือข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้อง เช่น ไม่แสดงส่วนผสมที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ และฉลากไม่ตรงตามผลิตภัณฑ์

ข้อมูลการเรียกคืนของประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ประเทศ แคนาดา เครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์ พบว่า สาเหตุที่มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหาร มากที่สุด คือ อันตรายจากฉลากไม่ถูกต้องซึ่งส่วนใหญ่เป็นการไม่แสดงสารก่อภูมิแพ้บนฉลาก จำนวน 352 รายการ (50.07%) รองลงมา คือ อันตรายจากเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 195 รายการ (27.74%) อันตรายจากกายภาพ 74 รายการ (10.53%) ด้านความบกพร่องอื่นๆ 69 รายการ (9.82%) และ อันตรายจากสารเคมี 13 รายการ (1.85%) ดังแสดงในภาพ

recall

ขอบคุณข้อมูลจาก : สถิติการเรียกคืนผลิตภัณฑ์อาหารของประเทศต่างๆ ของกระทรวงสาธารณะสุข (http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0001/00001428.PDF)

Machine Vision : ป้องกันความผิดพลาดในกระบวนเป็นสิ่งสำคัญ

การเรียกคืนสินค้าเป็นปัญหาใหญ่ของผู้ผลิต เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก อีกทั้งยังมีโอกาสที่จะสูญเสียชื่อเสียง หรือต้นทุนที่ต้องชดเชยจากความเสียหายที่เกิดขึ้น ความพยายามในการป้องกันปัญหาจึงเป็นความพยายามที่สำคัญขององค์กร ที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ซึ่งต้นทุนที่ใช้ในการป้องกันเหล่านี้เรียกว่า ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ถ้าองค์กรใช้จ่ายเงินเพื่อการป้องกัน อาทิ การพัฒนาบุคลากร การมีระบบการตรวจสอบและบริหารจัดการที่ดี การดูแลรักษาสภาพแวดล้อมและเครื่องจักรให้พร้อมต่อการใช้งานอยู่เสมอ มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการ recall มาก

จากสถิติของปัญหาการเรียกคืนผลิตภัณฑ์จากข้อมูลบนฉลากไม่ถูกต้อง ผู้ผลิตสามารถป้องกันปัญหาได้จากการตรวจสอบฉลากและข้อมูลบนฉลากแบบ 100% ด้วยระบบ Machine Vision ที่สามารถตรวจสอบได้ทั้งในส่วนของคุณภาพ และความถูกต้องของของฉลากด้วยเทคโนโลยี OCR ที่สามารถอ่านและตรวจสอบตัวอักษรกับตัวเลขบนฉลากผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งสามารถเชื่อมต่อเข้ากับระบบ re-ject และการแจ้งเตือน เพื่อไม่ให้มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีความผิดพลาดหลุดไปถึงมือผู้บริโภค อีกทั้งยังสามารถเตือนให้มีการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ เพือไม่ให้เกิดปัญหาเป็นสินค้า lot ใหญ่

machine vision
machine vision

ซึ่งนอกจากจะป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นบนฉลากผลิตภัณฑ์แล้วนั้น Machine Vision ยังสามารถช่วยในกระบวนการ Traceability หรือการตรวจสอบย้อนกลับได้อีกด้วย

การใช้เทคโนโลยีและเครื่องมีที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในกระบวนการตรวจสอบและการผลิต ถือได้ว่าเป็น ต้นทุนคุณภาพ (Cost of Quality) ที่ช่วยลดปัญหาและความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นในการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ